Internet of Things (iot) คืออะไร

Internet of Things (iot) คือ อินเตอร์เน็ตสำหรับทุกสิ่ง โดยที่ทุกอย่างสามารถเชื่อมถึงกันได้ด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยน้อยที่สุด มนุษย์จะทำหน้าที่แค่สั่งงานอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วที่เหลือตัวอุปกรณ์จะไปจัดการเอง ตัวอย่างง่ายๆ เช่น เราใช้แอพมือถือในการเปิด – ปิดไฟในห้อง หรือเปิดแอร์ให้เย็นก่อนเราเข้าบ้าน เลยเกิดระบบ Smart Home, Smart System อะไรต่างๆในบ้านเรานี่เอง

Internet of Things (iot) คืออะไร

ตัวอย่างง่ายๆ สมมุติว่าเราเป็นนักวิ่ง เราต้องการตรวจสอบจำนวนก้าวและเส้นทางการวิ่ง อัตราการเผาผลาญที่ใช้ไป อุปกรณ์เราที่ต้องมีก็คือ รองเท้าที่มีเซนเซอร์, นาฬิกา Smart Watch, มือถือ, แอพมือถือ ที่รองรับ

ตามตัวอย่างด้านบนก็คือ รองเท้าและนาฬิกาจะส่งข้อมูลไปที่มือถือ และแสดงผลไปที่แอพมือถือที่เราไว้ดูค่าต่างๆของเราที่ต้องการ นี่แหละครับคือความหมายของ Internet of Things คือการที่เราจะใช้ทีละอุปกรณ์ในการวัดค่าและแสดงผลที่แอพของมันเท่านั้น กลายเป็นเราสามารถใช้อุปกรณ์ได้หลากหลายมากขึ้น โดยสามารถดูข้อมูลหรือสั่งงานได้โดยใช้แค่ Application ตัวเดียว

แม้กระทั่งการเก็บไฟล์งานไว้บน Cloud

Internet of Things (iot) Cloud

Cloud ที่ใช้กันแทบทุกคน ก็นับว่าเป็น 1 ใน Internet of Things (iot) เช่นกัน เพราะสามารถเรียกข้อมูลได้ตลอดทุกที่ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์กันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะคอมพิวเตอร์หรือมือถือ ทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้นและทำให้ทุกคนไม่จำเป็นต้องพกอุปกรณ์ต่างๆเยอะแยะมากมายอีกต่อไป
แล้ว Internet of Things (iot) ใช้เทคโนโลยีอะไรในการเชื่อมต่อ
เทคโนโลยีของ Internet of Things (iot) เรียกว่า MSM หรือ Machine to Machine ซึ่งก็คือการที่อุปกรณ์แต่ละอย่างเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเหมือนการพึ่งพาอาศัยกันเหมือนในตัวอย่างที่เรายกขึ้นมาด้านบนนะครับว่า เราแค่ใช้ตัวควบคุมแต่ตัวเดียว แต่ตัวอุปกรณ์ Internet of Things (iot) ไปสื่อสารกันเองเพื่อดึงข้อมูลที่เราต้องการออกมาหรือทำงานให้เรา


Internet of Things คืออะไรกันแน่และทำงานอย่างไร

Internet of Things (iot) คือ

Internet of Things คืออะไรทำงานกันอย่างไร ต้องบอกว่า Internet of Things ทำงานกันครบเป็นวงจรเลยจะดีกว่า ทำให้ต้องมีหลายส่วนมาเกี่ยวข้องกัน เช่น

จากรูปที่เห็นด้านบน แสดงให้เห็นถึงการทำงานของระบบ Interner of Things (iot) ตามขั้นตอนดังนี้ จะเห็นว่าตัวเราหรือผู้ใช้ทำการสั่งงานผ่านตัวควบคุม (Controlling Device) ไปที่ระบบ Cloud Service ของยี่ห้อหรือแบรนด์ของอุปกรณ์นั้นๆ หลังจากนั้นตัว Cloud Service ก็ส่งคำสั่งของเราไปบนระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อไปยังระบบของเราที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวนั้นอยู่ เช่น เร้าท์เตอร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายภายใน (LAN) คำสั่งจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์ของเราที่เชื่อมต่อกับเร้าท์เตอร์เพื่อทำตามคำสั่งนั้นๆ เช่น ถ้าเราใช้มือถือสั่งเปิดไฟที่บ้าน ระบบ Internet of Things จะทำงานดังนี้

  1. มือถือส่งคำสั่งเปิดไปที่ระบบ
  2. ระบบส่งคำสั่งต่อไปบนอินเตอร์เน็ต
  3. คำสั่งข้ามผ่านอินเตอร์เน็ตไปที่เร้าท์เตอร์ที่บ้านเรา
  4. เร้าท์เตอร์ส่งคำสั่งต่อไปที่สวิทซ์ไฟ
  5. ไฟเปิด

ซึ่งสรุปอุปกรณ์หลักๆของระบบ Interner of Things (iot) ได้ดังนี้

Smart Device : อุปกรณ์ที่คอยรับคำสั่งและทำตามคำสั่งของเรา
Cloud System หรือ Wireless Network : สื่อกลางรับข้อมูลคำสั่งเพื่อส่งต่อ
Dashboard : ส่วนแสดงผลและควบคุม เช่น app มือถือต่างๆ

Interner of Things (iot) มีประโยชน์อย่างไรในปัจจุบัน

อย่างที่บอกไปด้านบนทั้งหมด Interner of Things (iot) คือ สิ่งที่สามารถใช้งานได้แทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะสั่งงานอุปกรณ์ หรือเก็บข้อมูลต่างๆโดยที่เราไม่ต้องไปถึงที่ เช่น มีการใช้เซนเซอร์วัดความชื้นที่บ้านเมื่อความชื้นสูงถึงจุดนึง ก็ส่งข้อมูลมาแจ้งเดือนเรา เราก็เปิดกล้องดูว่าฝนใกล้ตกไหม ถ้าใกล้ตกเราก็สั่งให้หลังคาอัตโนมัติปิดตัวเองเพื่อกันฝนก็ได้ และเมื่อเราเก็บค่าเหล่านี้มากๆขึ้น เราสามารถเรียกข้อมูลค่าต่างๆที่เราเก็บไว้มาทำเป็นสถิติแล้วทำเป็นระบบอัตโนมัติก็ได้ โดยเราตั้งค่าที่มือถือเราว่า ถ้าความชื้นสูงขนาดนี้นานขนาดนี้ๆ ฝนตกแน่นอนให้ปิดหลังคาหรือหน้าต่างได้เลย ไม่ต้องรอเราสั่ง ข้อมูลเหล่านี้ทำให้เกิดความแม่นยำมากขึ้นในการตัดสินใจ และทำให้เราแบ่งเวลาไปทำอย่างอื่นได้ หรือไม่จำเป็นต้องจ้างคนงานมาเฝ้าบ้านก็ช่วยประหยัดไปได้เยอะเช่นกัน

Similar Posts